Cape Town also has an interim goal of reducing emissions 9.41% by 2030, both reductions based on a 2016 baseline. Considering South Africa’s carbon intensive electricity grid, cleaner energy, including small-scale solar tops the list of initiatives. Capetonians can now export excess power generation back to the electricity grid, and the city has one of the highest solar generations in South Africa. Sweet! Between 2014 and 2022 Cape Town approved the installation of 76.2 MW of rooftop solar PV and installed 563 kWp on its own Municipal buildings. In addition Cape Town has an ambitious goal for new buildings and municipal buildings to be net zero emitters by 2030 and all buildings net zero carbon by 2050. Water resilience is also a key focus in the action plan. In 2018, Cape Town became the first major city to avert the worst impacts of a 3-year drought by drastically reducing water usage through the collective efforts of residents, visitors, businesses and the City working together! Cape Town has since committed to developing 300 million litres per day of additional water supply capacity by 2030 to support its goal of becoming water resilient, and is already producing around 3 million litres per day from new sources. Inspiring!
Cape Town also has an interim goal of reducing emissions 9.41% by 2030, both reductions based on a 2016 baseline. Considering South Africa’s carbon intensive electricity grid, cleaner energy, including small-scale solar tops the list of initiatives. Capetonians can now export excess power generation back to the electricity grid, and the city has one of the highest solar generations in South Africa. Sweet! Between 2014 and 2022 Cape Town approved the installation of 76.2 MW of rooftop solar PV and installed 563 kWp on its own Municipal buildings. In addition Cape Town has an ambitious goal for new buildings and municipal buildings to be net zero emitters by 2030 and all buildings net zero carbon by 2050. Water resilience is also a key focus in the action plan. In 2018, Cape Town became the first major city to avert the worst impacts of a 3-year drought by drastically reducing water usage through the collective efforts of residents, visitors, businesses and the City working together! Cape Town has since committed to developing 300 million litres per day of additional water supply capacity by 2030 to support its goal of becoming water resilient, and is already producing around 3 million litres per day from new sources. Inspiring!
หนึ่งโหวตสำหรับ Cape Town หมายถึงหนึ่งโหวตสำหรับอนาคตที่ยั่งยืนด้วยพลังงานหมุนเวียน
Use #WeLoveCapeTown on Instagram, Facebook or Twitter.
Suggest an idea for making it even better and welcome back in 24h to vote again.
เรารักที่จะเดินทาง
เมืองที่เข้าร่วมกับเรา กำลังปรับเปลี่ยนไปสู่เมืองที่ยั่งยืน โดยการพยายามลดการใช้พลังงานในการสัญจร เพื่อสร้างอากาศและสุขภาวะที่ดีกว่าคมนาคมเป็นการใช้พลังงานร้อยละ 25 จากการใช้พลังงานทั้งหมดของโลก ดังนั้นเมืองต่างๆ จึงกำลังหาวิธีการปรับปรุงให้ดีขึ้น ซึ่งการจัดให้มีพื้นที่ปลอดยานพาหนะหรือพื้นที่ที่จํากัดการใช้รถ
การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า การเพิ่มจำนวนรถโดยสารสาธารณะ การส่งเสริมการใช้จักรยานและการมีถนนที่เป็นมิตรต่อคนเดินเท้าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นซึ่งจะนำไปสู่การมีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นได้
เรารักพลังงานจากธรรมชาติ
เมืองต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการล้วนแต่ชื่นชอบการใช้พลังงานจากธรรมชาติ และกำลังกลายเป็นจุดเชื่อมต่อของการแก้ปัญหาด้านพลังงานทดแทน ในปัจจุบัน ผู้อาศัยในเมืองล้วนมีส่วนรับผิดชอบกว่าร้อยละ 70 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เกิดจากการใช้พลังงานบนโลก อย่างไรก็ตาม การที่เมืองต่างๆ กลายเป็นผู้บุกเบิกด้านพลังงานทดแทนทำให้มีโอกาสเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ดังกล่าวได้
ซึ่งการผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ก๊าซชีวภาพ พลังงานลม การผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์และโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะล้วนไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่ออากาศที่เราหายใจ แหล่งน้ำที่เราใช้ และระบบภูมิอากาศ ซึ่งครอบคลุมไปถึงการที่ทุกคนมีสุขภาพแข็งแรงและมีความสุขมากขึ้นด้วย
เรารักอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เมืองต่างๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างก็กำลังปรับปรุงสถานที่ที่ผู้คนใช้อยู่อาศัยและทำงาน อาคารต่างๆ ล้วนบ่งบอกถึงคุณลักษณะของเมืองได้ ซึ่งไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นว่าเมืองมีรูปลักษณ์ภายนอกอย่างไร แต่ยังชี้ให้เห็นวิธีดำเนินงานของเมืองด้วย อาคารต่างๆ ใช้พลังงานหนึ่งในสามของโลก และเมืองขนาดใหญ่ปล่อยก๊าซคาร์บอนมากถึงร้อยละ
80 ซึ่งจากการประกวดออกแบบอาคารรูปแบบใหม่ การสร้างแรงจูงใจและการจัดทำมาตรฐาน ทำให้เมืองต่างๆ มีแนวโน้มในการสร้างบ้านประหยัดพลังงานมากขึ้น และส่งผลให้เกิดเป็นกระแสนิยมระดับโลกอีกด้วย โดยอาคารต่างๆ ที่สร้างใหม่จะกลายเป็นผู้ผลิตพลังงานมากกว่าเป็นผู้ใช้พลังงาน
เรารักวิถีชีวิตที่สะอาด
จากการลดการใช้พลังงานสิ้นเปลืองและรักโลกมากขึ้นทำให้เมืองต่างๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมเดินหน้าใช้วิธีแก้ปัญหาขยะอย่างชาญฉลาด เช่น การเปลี่ยนขยะเป็นทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นก๊าซชีวภาพ การทำความร้อนแบบรวมศูนย์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ การชลประทาน และการนำกลับมาใช้ซ้ำล้วนแต่มีที่มาจากขยะและน้ำเสียทั้งสิ้น
การผลิตทรัพยากรจากขยะยังสร้างอาชีพเพิ่มมากขึ้นด้วย จากการลดปริมาณและนำขยะมาใช้ประโยชน์เพื่อผลิตวัตถุดิบและพลังงานทำให้การจัดการขยะในเมืองมีส่วนพัฒนาช่วยเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม และยังมีส่วนในการส่งเสริมวิถีชีวิตที่สะอาดปลอดภัย
เราชอบอาหารที่สดใหม่
จากร้านอาหารชั้นนำจนถึงร้านอาหารแผงลอยข้างถนน อาหารถือเป็นส่วนสำคัญกำหนดคำนิยามของเมืองและยังเป็นมีบทบาทสำคัญยิ่งสำหรับเส้นทางสู่ความยั่งยืนนี้ การจัดหาอาหารที่เท่าทันภูมิอากาศ (Climate-Smart food procurement) และการส่งเสริมการกินอาหารเน้นผักผลไม้เป็นหลัก (Veggie Based Diet) จะช่วยลดปัญหาด้านผลกระทบของภูมิอากาศที่มีต่ออาหารและปัญหาด้านสุขภาพ
การทำเกษตรในเมืองจะช่วยเพิ่มความมั่นคงทางอาหาร ในขณะเดียวกัน โรงพยาบาลและโรงเรียนต่างก็นำหีบห่อบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่และหมักปุ๋ยจากเศษอาหารเหลือทิ้งเพื่อไม่ก่อให้เกิดขยะ ยิ่งเมืองต่างๆ ร่วมมือกันจัดการด้านอาหารมากเท่าไหร่ เมืองจะน่าอยู่มากขึ้นเท่านั้น
กิจกรรมนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2556 ดำเนินการโดยองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF ซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำของโลกในการอนุรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งสามารถเข้าถึงผู้คนมากกว่า 200 ล้านคนจากทั่วโลก โดยมีกว่า 150 เมืองที่มีคนมากกว่า 10 ล้านคนเข้าร่วมกิจกรรม ทำให้เมืองที่เข้าร่วมได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางต่างๆ ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเมืองจากคนกว่าแสนคนที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น
ด้วยภารกิจสำคัญของ WWF ที่มุ่งส่งเสริมอนาคตที่ผู้คนจะสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้ เราจึงสนับสนุนการสร้างสรรค์และการพัฒนาที่ทำให้เมืองเจริญขึ้น บนขีดจำกัดด้านนิเวศของโลกใบเดียวใบนี้ของเราทุกคน
TWEET, LIKE & SHARE
เพิ่มเสียงของคุณ! ทุก ๆ ภาพอินสตาแกรม และทวีตเตอร์ จะนับเป็น 1 คะแนนเมื่อคุณติดแฮชแท็กเมืองที่คุณชื่นชอบ
ON TWITTER
ON FACEBOOK
ON INSTAGRAM