เรารักที่จะเดินทาง
เมืองที่เข้าร่วมกับเรา กำลังปรับเปลี่ยนไปสู่เมืองที่ยั่งยืน โดยการพยายามลดการใช้พลังงานในการสัญจร เพื่อสร้างอากาศและสุขภาวะที่ดีกว่าคมนาคมเป็นการใช้พลังงานร้อยละ 25 จากการใช้พลังงานทั้งหมดของโลก ดังนั้นเมืองต่างๆ จึงกำลังหาวิธีการปรับปรุงให้ดีขึ้น ซึ่งการจัดให้มีพื้นที่ปลอดยานพาหนะหรือพื้นที่ที่จํากัดการใช้รถ
การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า การเพิ่มจำนวนรถโดยสารสาธารณะ การส่งเสริมการใช้จักรยานและการมีถนนที่เป็นมิตรต่อคนเดินเท้าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นซึ่งจะนำไปสู่การมีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นได้
เรารักพลังงานจากธรรมชาติ
เมืองต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการล้วนแต่ชื่นชอบการใช้พลังงานจากธรรมชาติ และกำลังกลายเป็นจุดเชื่อมต่อของการแก้ปัญหาด้านพลังงานทดแทน ในปัจจุบัน ผู้อาศัยในเมืองล้วนมีส่วนรับผิดชอบกว่าร้อยละ 70 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เกิดจากการใช้พลังงานบนโลก อย่างไรก็ตาม การที่เมืองต่างๆ กลายเป็นผู้บุกเบิกด้านพลังงานทดแทนทำให้มีโอกาสเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ดังกล่าวได้
ซึ่งการผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ก๊าซชีวภาพ พลังงานลม การผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์และโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะล้วนไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่ออากาศที่เราหายใจ แหล่งน้ำที่เราใช้ และระบบภูมิอากาศ ซึ่งครอบคลุมไปถึงการที่ทุกคนมีสุขภาพแข็งแรงและมีความสุขมากขึ้นด้วย
เรารักอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เมืองต่างๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างก็กำลังปรับปรุงสถานที่ที่ผู้คนใช้อยู่อาศัยและทำงาน อาคารต่างๆ ล้วนบ่งบอกถึงคุณลักษณะของเมืองได้ ซึ่งไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นว่าเมืองมีรูปลักษณ์ภายนอกอย่างไร แต่ยังชี้ให้เห็นวิธีดำเนินงานของเมืองด้วย อาคารต่างๆ ใช้พลังงานหนึ่งในสามของโลก และเมืองขนาดใหญ่ปล่อยก๊าซคาร์บอนมากถึงร้อยละ
80 ซึ่งจากการประกวดออกแบบอาคารรูปแบบใหม่ การสร้างแรงจูงใจและการจัดทำมาตรฐาน ทำให้เมืองต่างๆ มีแนวโน้มในการสร้างบ้านประหยัดพลังงานมากขึ้น และส่งผลให้เกิดเป็นกระแสนิยมระดับโลกอีกด้วย โดยอาคารต่างๆ ที่สร้างใหม่จะกลายเป็นผู้ผลิตพลังงานมากกว่าเป็นผู้ใช้พลังงาน
เรารักวิถีชีวิตที่สะอาด
จากการลดการใช้พลังงานสิ้นเปลืองและรักโลกมากขึ้นทำให้เมืองต่างๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมเดินหน้าใช้วิธีแก้ปัญหาขยะอย่างชาญฉลาด เช่น การเปลี่ยนขยะเป็นทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นก๊าซชีวภาพ การทำความร้อนแบบรวมศูนย์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ การชลประทาน และการนำกลับมาใช้ซ้ำล้วนแต่มีที่มาจากขยะและน้ำเสียทั้งสิ้น
การผลิตทรัพยากรจากขยะยังสร้างอาชีพเพิ่มมากขึ้นด้วย จากการลดปริมาณและนำขยะมาใช้ประโยชน์เพื่อผลิตวัตถุดิบและพลังงานทำให้การจัดการขยะในเมืองมีส่วนพัฒนาช่วยเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม และยังมีส่วนในการส่งเสริมวิถีชีวิตที่สะอาดปลอดภัย
เราชอบอาหารที่สดใหม่
จากร้านอาหารชั้นนำจนถึงร้านอาหารแผงลอยข้างถนน อาหารถือเป็นส่วนสำคัญกำหนดคำนิยามของเมืองและยังเป็นมีบทบาทสำคัญยิ่งสำหรับเส้นทางสู่ความยั่งยืนนี้ การจัดหาอาหารที่เท่าทันภูมิอากาศ (Climate-Smart food procurement) และการส่งเสริมการกินอาหารเน้นผักผลไม้เป็นหลัก (Veggie Based Diet) จะช่วยลดปัญหาด้านผลกระทบของภูมิอากาศที่มีต่ออาหารและปัญหาด้านสุขภาพ
การทำเกษตรในเมืองจะช่วยเพิ่มความมั่นคงทางอาหาร ในขณะเดียวกัน โรงพยาบาลและโรงเรียนต่างก็นำหีบห่อบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่และหมักปุ๋ยจากเศษอาหารเหลือทิ้งเพื่อไม่ก่อให้เกิดขยะ ยิ่งเมืองต่างๆ ร่วมมือกันจัดการด้านอาหารมากเท่าไหร่ เมืองจะน่าอยู่มากขึ้นเท่านั้น
กิจกรรมนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2556 ดำเนินการโดยองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF ซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำของโลกในการอนุรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งสามารถเข้าถึงผู้คนมากกว่า 200 ล้านคนจากทั่วโลก โดยมีกว่า 150 เมืองที่มีคนมากกว่า 10 ล้านคนเข้าร่วมกิจกรรม ทำให้เมืองที่เข้าร่วมได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางต่างๆ ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเมืองจากคนกว่าแสนคนที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น
ด้วยภารกิจสำคัญของ WWF ที่มุ่งส่งเสริมอนาคตที่ผู้คนจะสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้ เราจึงสนับสนุนการสร้างสรรค์และการพัฒนาที่ทำให้เมืองเจริญขึ้น บนขีดจำกัดด้านนิเวศของโลกใบเดียวใบนี้ของเราทุกคน
กิจกรรมเมืองนี้ฉันรักคืออะไร? ตอบปกปิด
เมืองนี้ฉันรัก หรือ We Love Cities เป็นกิจกรรมรณรงค์ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนจากทั่วโลกได้แสดงออกเพื่อสนับสนุนการพัฒนาสู่เมืองยั่งยืน โดยการโหวตให้แก่เมืองที่ผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายชองโครงการเมืองน่าอยู่สู่โลกยั่งยืน หรือ One Planet City Challenge (OPCC) ซึ่งเป็นโครงการระดับโลกที่ดำเนินการมาต่อเนื่องและยาวนาน รวมทั้งสามารถโพสข้อความเพื่อแสดงความคิดเห็นต่อเมืองเหล่านี้
กิจกรรมเมืองนี้ที่ฉันรัก มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อ
คะแนนโหวตที่แต่ละเมืองได้จากกิจกรรมเมืองนี้ฉันรักจะมีผลต่อการคัดเลือกผู้ชนะระดับประเทศและระดับโลกของโครงการเมืองน่าอยู่สู่โลกยั่งยืนหรือไม่? ตอบปกปิด
ไม่มีผล เนื่องจากการตัดสินเมืองที่ชนะเลิศระดับประเทศและระดับโลกของโครงการ OPCC นั้น จะมีกระบวนการคัดเลือกจากคณะกรรมการบนฐานของข้อมูลจากแบบรายงานสากลที่พัฒนาขึ้นโดย 2 หน่วยงานหลัก ได้แก่ ICLEI และ CDP
ทำไมถึงไม่มีเมืองจากประเทศของฉันเข้าร่วมในกิจกรรมนี้? ตอบปกปิด
เมืองที่สามารถเข้าร่วมกิจกรรนี้ได้ เป็นเมืองที่ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบสดท้ายของโครงการเมืองน่าอยู่สู่โลกยังยืน หรือ OPCC ซึ่งหากประเทศเข้าร่วมแต่เมืองของท่านไม่ปรากฎชื่อในการร่วมกิจกรรมนี้นั้นมีเหตุผลจาก 2 ประการ คือ เมืองเลือกที่จะไม่เข้าร่วมกิจกรรมนี้ หรือเมืองของท่านไม่ผ่านในการคัดเลือกรอบสุดท้าย ดังนั้น จึงแนะนำให้ผู้บริหารเมืองของท่านพยายามพัฒนากิจกรรมและรายงานผลของการปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศร่วมกับเราในปีต่อไป
ทำไมเมืองบางเมืองที่ดูแล้วว่าไม่ยั่งยืนเท่าที่ควร จึงสามารถเข้าร่วมในกิจกรรมนี้? ตอบปกปิด
การรวมเมืองต่าง ๆ ในการรณรงค์ครั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าทุกเมืองจะเป็นเมืองยั่งยืนทั้งหมด ซึ่ง WWF เองเชื่อว่า ยังไม่มีเมืองใดในโลกที่เป็นเมืองยั่งยืนอย่างสมบูรณ์แบบในปัจจุบัน โดยทุกเมืองยังคงต้องมีการพัฒนาอีกงยาวนานกว่าที่จะบรรลุสู่การเป็นเมืองที่มีคุณภาพชีวิตในระดับดี แต่ยังมีเมืองต่างๆ ที่ดำเนินโครงการในการขับเคลื่อนเมืองสู่การเปลี่ยนแปลงสู่อนาคตเมืองที่ยั่งยืน โดยอาศัยพลังงานทดแทนเป็นฐานสำคัญ
เพื่อให้เมืองเหล่านั้นสามารถเป็นตัวอย่างและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เมืองอื่นๆ ซึ่งโครงการเมืองน่าอยู่สู่โลกยั่งยืน ได้ทำการคัดเลือกเมืองจากทั่วทุกมุมโลก ที่อยู่ในสถานการณ์ท้องถิ่นของตนเองและมีความสามารถที่แตกต่างกันในการดำเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและประเด็นด้านความยั่งยืน ดังนั้น การคำนึงถึงบริบทของท้องถิ่นที่ทำให้เมืองเหล่านี้ในความพยายามในการพัฒนาปฏิบัติการและกำหนดกลยุทธ์
ที่ท้าทาย จึงเป็นเกณฑ์พิจารณาสำคัญในขั้นตอนการคัดเลือกเบื้องต้น
การโหวตจะทำให้เกิดการเปลียนแปลงในการพัฒนาเมืองสู่ความยั่งยืนได้จริงหรือ? ตอบปกปิด
จำนวนครั้งของการโหวตและข้อเสนอแนะ/ความคิดเห็นที่ได้รับผ่านช่องทางต่างๆ จะถูกส่งต่อให้เมืองที่ท่านโหวต ทั้งนี้ ในการรณรงค์ที่ผ่านมานั้น เมืองต่างๆ ได้แสดงให้เห็นว่ามีความสนใจอย่างมากต่อข้อคิดเห็นเหล่านั้น และได้ใช้ในการสื่อสารกับพลเมืองอีกด้วย ดังนั้น การโหวตของท่าน คือ การแสดงความชื่นชมต่อปฏิบัติการของเมืองด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการสร้างความยั่งยืน ซึ่งจะสามารถเป็นกำลังใจให้เมืองเหล่านั้นพยายามปรับปรุงวิถีการดำเนินชีวิตของภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างแน่นอน
ทำไมการหยิบยกประเด็นเด่นๆ ของเมืองจึงมีความสำคัญ? ตอบปกปิด
การที่เมือง เป็นทั้งพื้นที่พบปะ พื้นที่สร้างปัญหา และศูนย์กลางทางการเงิน สังคม และนวตกรรมเชิงเทคนิคต่างๆ เมืองจึงสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาได้ในหลายๆ ด้าน เราจึงจต้องการมุ่งเน้นประเด็นที่ส่งผลประโยชน์ต่อสังคมและการพิทักษ์สภาพภูมิอากาศ ได้แก่ การเดินทางสัญจร (transport) พลังงาน (energy) ที่อยู่อาศัย (housing) ของเสีย (waste) และอาหาร (food)
ยกตัวอย่างเช่น เมืองสามารถที่จะบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนระจกและยกระดับคุณภาพชีวิต ผ่านการกำหนดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน เช่น การจัดพื้นที่ปลอดรถยนต์หรือพื้นที่ควบคุมรถยนต์ การส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า การขยายการให้บริการขนส่วสาธารณะ การส่งเสริมการใช้จักรยาน การพัฒนเมืองให้กระชับและเป็นมิตรต่อคนเดินเท้า การพัฒนาพื้นที่ที่เอื้อต่อการเดินทางอย่างยั่งยืน รวมไปถึงยุทธศาสตร์ที่มุ่งส่งเสริมการจัดซื้อและบริโภคอาหารอย่างชาญฉลาด ยังสามารถช่วยลดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศและสุขภาพของคนในเมืองอีกด้วย
นอกจากนี้ การจัดการปัญหาแบบระบบปิด (Closed-Loop solution) และการใช้แนวคิด “อู่สู่อู่”* (Cradle-to-Cradle approach) จะช่วยลดของเสียและลดปริมาณวัสดุและพลังงานในระบบการผลิต การจัดการขยะในเมืองที่ชาญฉลาดยังสามารถปรับปรุงเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของผู้คนพร้อมกัน ยิ่งไปกว่านั้น เมืองยังสามารถสนับสนุนให้อาคารบ้านเรือนที่สร้างใหม่ให้เป็นมิตรต่อโลก การสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนในท้องถิ่น เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงจากฟอสซิล และช่วยปกป้องเศรษฐกิจฐานรากของเมืองจากค่าใช้จ่ายพลังงานที่สูงอีกด้วย
TWEET, LIKE & SHARE
เพิ่มเสียงของคุณ! ทุก ๆ ภาพอินสตาแกรม และทวีตเตอร์ จะนับเป็น 1 คะแนนเมื่อคุณติดแฮชแท็กเมืองที่คุณชื่นชอบ
ON TWITTER
ON FACEBOOK
ON INSTAGRAM